วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นายประดิษฐ์ ทิพย์สุมาลัย ปลัดจังหวัดพัทลุง เยี่ยมชมการปลูกหญ้าแฝก บ้านนายทนงค์ แสงเกิด

   




นายประดิษฐ์ ทิพย์สุมาลัย ปลัดจังหวัดพัทลุง เยี่ยมชมการปลูกหญ้าแฝก บ้านนายทนงค์ แสงเกิด ม.3 ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 53
นายประดิษฐ์  ทิพย์สุมาลัย  ปลัดจังหวัดพัทลุง  เยี่ยมชมการปลูกหญ้า แฝก  บ้านนายนงค์  แสงทนงค์  แสงเกิด  ม.3 ต.เขาย่า อ.ศรี บรรพต  จ.พัทลุง  เมื่อวันที่  9 ส.ค. 53
โดยมีนายสมหวัง  เรืองเพ็ง  นายอำเภอศรีบรรพต  ให้การต้อนรับ

พัทลุง - เกษตรกร อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง โชว์ผลงานคว้ารางวัลชนะการปลูกหญ้าแฝก ระดับประเทศ สุดปลื้มรับโล่พระราชทาน “ในหลวง



 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ว่า สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) / กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้จัดประกวด “การพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2550”
      
       โดยจังหวัดพัทลุง ได้ส่งผลงานเข้าประกวดในประเภทการปลูกจำนวน 3 ราย และการออกแบบผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก จำนวน 1 ราย ผลการประกวด นายทนงค์ แสงเกิด อายุ 45 ปี ที่อยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 3 บ้านม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
      
       ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด “การพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2550” ประเภทการปลูก รับโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรางวัล 90,000 บาท จากผู้ที่ได้รับรางวัลประเภทนี้ทั่วประเทศ 19 รางวัล
      
       สำหรับ นายทนงค์ แสงเกิด ได้ปลูกหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำในพื้นที่ จำนวน 15 ไร่ เริ่มปลูกหญ้าแฝกเมื่อปี 2542 ลักษณะหรือวิธีการปลูก ริมคันคูยกร่อง ขอบบ่อเลี้ยงปลา คันบ่อดักตะกอนดิน ปลูกคู่ขนานกับแถวพริก ขี้หนู และถั่วฝักยาว
      
       ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานหลังจากนำหญ้าแฝกมาปลูกในแปลง พืชหลัก ทำให้พืชหลักมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค โดยเฉพาะโรคเน่าคอดิน ตลอดจนแมลงศัตรูพืชไม่มารบกวนในแปลง
      
       
ผลผลิตที่ได้รับพืชหลักมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่ต้องการของตลาดประกอบกับลดต้นทุน เช่น ค่าไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องปั๊มน้ำ ลดปริมาณปุ๋ยเคมี ลดค่าแรงงานในการกำจัดวัชพืช ไม่มีวัชพืชบริเวณโคนต้นพืชที่คลุมด้วยหญ้าแฝก

เศรษฐกิจพอเพียง



เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ